ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2456 โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสโส) เป็นผู้ก่อตั้ง ในปีแรกที่เปิดสอน มีครู 3 คน คือ นายบุญถม ชนะกานนท์ ครูใหญ่ นายอุทา พิมพะสาลีและนายเหลา พิมพะสาลี เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนจำนวน 50 คน
พุทธศักราช 2456
- ย้ายไปเรียนที่วัดใต้โพธิ์ค้ำ
พุทธศักราช 2460
- ย้ายไปเรียนที่เรือนจำเก่า
พุทธศักราช 2462
- ย้ายไปเรียนที่สโมสรเสือป่า
พุทธศักราช 2472
- ย้ายไปเรียนที่วัดหอไตรปิฏกราม
พุทธศักราช 2473
ย้ายไปเรียนที่ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ เพราะโรงเรียนถูกไฟไหม้ เริ่มลงทะเบียนนักเรียนเลขประจำตัว 1 ใหม่
พุทธศักราช 2474
ย้ายมาเรียนในพื้นที่ปัจจุบัน สร้างอาคารเรียนหลังแรก (อาคารเสาใหญ่ ) ราคา 10,000 บาท และบ้านพักครู 1 หลัง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2474
พุทธศักราช 2484
- เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษา
พุทธศักราช 2510
- โรงเรียนเข้าโครงการโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาชนบท
พุทธศักราช 2534
- ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2534 ในขณะที่ นายวินัย เสาหิน เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
พุทธศักราช 2535
- ได้งบประมาณสร้างหอประชุม โรอาหารขนาดมาตรฐาน ในวงเงิน 5,713,000 บาท และได้งบประมาณก่อสร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม นักเรียนจำนวน 6 ที่ตามแบบ 6 ที่/27 มนวงเงิน 180,000 บาท
พุทธศักราช 2536
- นายชุมพล เวียงเพิ่ม มาดำรงตำแหน่งแทน นายวินัย เสาหิน ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ด
- ได้ก่อตั้งสมาคมผู้ปกครองและครู วันที่ 10 มิถุนายน 2536 และได้รับมอเครื่องถ่ายวีดีโอพานาโซนิค รุ่น 9000 มูลค่า 51,200 บาท ให้โรงเรียน 1 เครื่อง
- นักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 บริจาคจานดาวเทียม 10.5 ฟุต มูลค่า 66,000 บาท ให้โรงเรียน 1 เครื่อง
- สมาคมผู้ปกครองและครู – สมาคมศิษย์เก่าและมูลนิธิโรงเรียน จัดผ้าป่าการศึกษาซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ 10 เครื่อง มูลค่า 235,000 บาท โต๊ะวางคอมพิวเตอร์ 11 ตัว มูลค่า 15,400 บาท และเครื่องปรินเตอร์ จำนวน 2 เครื่อง มูลค่า 16,000 บาท เครื่องปรับอากาศขนาด 38,300 บี.ที.ยู จำนวน 3 เครื่อง ราคา 126,000 บาท ร้านนพรัตน์อิเล็คทริก บริจาคเครื่องปรับอากาศขนาด 25,800 บี.ที.ยู. จำนวน 1 เครื่อง
พุทธศักราช 2537
- โรงเรียนได้งบประมาณก่อสร้าง ลู่วิ่งขนาดมาตรฐาน 8 ลู่วิ่ง 400 เมตร พร้อมสนามฟุตบอล งบประมาณก่อสร้าง 500,000 บาท ก่อสร้างโรงเก็บรถ เป็นเงิน 79,300 บาท ก่อสร้างถนนคอมกรีต เป็นเงิน 96,000 บาท ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม DTH จำนวน 1 ชุด ตามโครงการ”เติมความรู้สู่มหาลัย”
พุทธศักราช 2539
- นายบรรเทา วรรณจำปี มาดำรงตำแหน่งแทน นายชุมพล เวียงเพิ่ม ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น
พุทธศักราช 2543
- นางพิสมัย อารีย์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทนนายบรรเทา วรรณจำปี ซึ่งเกษียณอายุราชการ
- โรงเรียนได้งบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 324/ล41 (หลังคาทรงไทย) งบประมาณในการก่อสร้าง 14,850,000 บาท โดยสร้างแทนอาคารเสาใหญ่ ที่ได้ทรุดโทรมไป พ.ศ.2546 โรงเรียนก่อสร้างโรงอาหารระหว่างหอประชุมกับอาคารพลศึกษาและนายวานิชย์ ติชาวัน ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนในปีเดียวกันนี้
พุทธศักราช 2547
โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (MEP) โดยเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน ๆ ละ 27 คน รวม 54 คน
พุทธศักราช 2548
โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (MEP) โดยเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จัดศูนย์แนะแนวของเขตพื้นที่การศึกษาและศูนย์สอบของสำนักงานทดสอบแห่งชาติ ปรับปรุงห้องสมุดทั้งระบบ มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ มีห้องศึกษาค้นคว้าระบบอินเทอร์เน็ตและห้องสมุดเสียง (ใช้สำหรับศึกษาความรู้จากสื่อ T.V. /C.D./D.V.D./V.C.D.) จัดให้มีการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนที่มีความสนใจ โดยครูซึ่งเป็นเจ้าของภาษา จัดซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน จำนวน 3 ห้อง 78 เครื่อง ด้วยเงินบริจาคอย่างมีวัตถุประสงค์
พุทธศักราช 2549
โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (MEP) โดยเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รวมจำนวนทั้งสิ้น 4 ห้อง จัดทำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง พร้อมจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนจำนวน 20 เครื่อง จัดให้มีการประกวดโครงงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์สมบัติ 60 ปี ส่งเสริมการแข่งขันทักษะด้านต่าง ๆ จัดให้มีการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนที่มีความสนใจ โดยครูซึ่งเป็นเจ้าของภาษา ขยายถนนคอนกรีตทางเดินทางเท้าเข้าห้องน้ำนักเรียนหญิงหลังอาคาร 1 เทพื้นคอนกรีตแก้ปัญหาที่เก็บขยะข้างห้องสมุด ปรับปรุงโรงเก็บรถจักรยานยนต์นักเรียน ติดตั้งโครงเหล็กรอบ ๆ อาคารโรงรถทั้ง 3 แห่ง สร้างโรงเรือนหน้าห้องโสตทัศนศึกษาพร้อมปูกระเบื้อง ปูพื้นกระเบื้องหลังอาคาร 5 ทั้งหมด สร้างป้ายหินแกรนิตลานประดู่ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ศาลพระภูมิและลานพระรูปใหม่ทั้งหมด ปรับปรุงและขยายห้องคอมพิวเตอร์ให้กว้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอน สร้างหลังคากันแดดและฝน ทางเดินเชื่อมต่ออาคาร 2 และ 3 สร้างหลังคาและปูกระเบื้องด้านข้างห้องทะเบียนวัดผลเพื่อให้นักเรียนใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และจัดตู้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ปรับปรุง ที่ดื่มน้ำสำหรับนักเรียนจำนวน 6 จุด เพื่อให้ปลอดภัยจากไฟรั่ว ปรับปรุงห้องน้ำนักเรียนหญิงหลังอาคารวิทยาศาสตร์ สร้างและปรับปรุงโรงเรือนหลังอาคาอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอนกิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร ขยายถนนหน้าอาคารวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นที่จอดรถยนต์ จัดทำแผ่นเหล็กปูตะแกรงปิดกั้นร่องน้ำหน้าอาคารประชาสัมพันธ์
พุทธศักราช 2550
นายเสน่ห์ คำสมหมาย มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแทน นายวานิชย์ ติชาวัน ซึ่งเกษียณอายุราชการโรงเรียนได้งบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ปรับปรุง 46 งบประมาณในการก่อสร้าง 14,773,000 บาท โดยสร้างแทนอาคารชั่วคราวที่ได้ทรุดโทรม ก่อสร้างศาลาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณหน้าอาคาร 5 จำนวน 2 หลัง ด้วยเงินเหลือจ่ายจากการงดตอกเสาเข็มอาคารเรียน 216 ปรับปรุง 46 ด้วยวงเงินก่อสร้าง 140,000 บาท ก่อสร้างศูนย์เรียนรวมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา บริเวณใต้ถุนอาคาร 6 วงเงินก่อสร้าง 1,719,000 บาท ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าและหลังอาคาร 6 เป็นลานธรรมและรอบบริเวณพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ได้ปรับปรุงระบบเสียงประชาสัมพันธ์ตามอาคารเรียนทุกหลังและภายในบริเวณโรงเรียน นอกจากนี้ได้พัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (GC) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้นำนักเรียนในโครงการไปทัศนศึกษา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนและนำนักเรียนไปแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (MEP) จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ 4 รายวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ จัดสอนเสริมหลังเลิกเรียนเป็นภาษาไทย คือวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ได้นำนักเรียนในโครงการไปทัศนศึกษา ณ ประเทศสิงคโปร์ รวม 5 วัน
พุทธศักราช 2551
นายเสน่ห์ คำสมหมาย มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ โรงเรียนได้พัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (TSM และ GC) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียนและระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน มีการนำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปฝึกการทำโครงงาน ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ มีการนำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไปฝึกการใช้ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงปิดภาคเรียน ส่วนนักเรียนในโครงการ จัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (MEP) ได้นำนักเรียนในโครงการไปทัศนศึกษา ณ ประเทศสิงคโปร์ รวม 5 วัน ด้านอาคารสถานที่มีการสร้างห้องน้ำหลังอาคาร 6 จำนวน 1 หลัง เป็นห้องน้ำสำหรับนักเรียนหญิงและนักเรียนชายเพื่อบริการผู้ที่มาใช้ห้องเฉลิมพระเกียรติของทางโรงเรียนด้วย ได้สร้างทางเชื่อมอาคาร 1กับอาคาร 6 ทาสีอาคารเรียนต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศให้โรงเรียนสดใสยิ่งขึ้น
พุทธศักราช 2552
นายเสน่ห์ คำสมหมาย ได้พัฒนาโรงเรียนไปสู่โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ให้การช่วยเหลือโรงเรียนน้อง มีการนำวงโปงลางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ ประเทศตุรกีเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ได้สร้างทางเชื่อมระหว่างอาคาร 1 กับอาคาร 2 โรงเรียนได้ซื้อรถบัสมา 1 คันใช้ในการนำนักเรียนไปทัศนศึกษาไปเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โรงเรียนได้พัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (TSM และ GC) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียนและระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน พัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางภาษา (TSL) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน
